๓ มิ.ย. ๒๕๕๒

รูปแบบการประกันภัยอิสรภาพ

การทำประกันภัยอิสรภาพมี 2 รูปแบบคือ
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป)ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในฐานความผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยประมาทบริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน และหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้ว แต่ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัทประกันภัยได้
แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด (ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย) ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในทุกลักษณะฐานความผิดบริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดีที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร

การประกันภัยอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันมาวางศาลได้ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น เมื่อประชาชนได้ซื้อประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองให้ผู้เอาประกันภัยถือไว้ หากผู้เอาประกันภัยได้ทำความผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวกอย่างยิ่งจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรองนี้ ยื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นใดมาวางเป็น

๘ พ.ค. ๒๕๕๒

ข้อสอบตัวแทนประกันชีวิต ชุดที่ 2

1.นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวนให้นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนที่ทำงานที่เดียวกับพี่ชายของตนทำประกันชีวิต หลังจากนั้น 5 ปี นาย ข. ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ทำให้พี่ชายนาย ก. ไม่พอใจ นาย ก. ซึ่งเป็นน้องก็ไม่พอใจตามไปด้วย ไม่ไปเก็บเบี้ยประกันภัยจากนาย ข. เมื่อถึงกำหนด รวมทั้งเมื่อมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน นาย ก. ก็ไม่สนใจให้บริการเหมือนเคยปฏิบัติมาก่อน การกระทำเช่นนี้เป็นการผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่
คำตอบ : ก. ผิด เพราะไม่ได้ให้บริการที่ดีแก่ผู้เอาประกันชีวิตอย่างสม่ำเสมอ
2.ในฐานะที่ท่านเป็นตัวแทนประกันชีวิต ท่านควรปฏิบัติดังนี้
คำตอบ : ง. ให้การบริการผู้เอาประกันชีวิตอย่างสม่ำเสมอและชี้แจงให้ผู้เอาประกันทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน
3.จรรยาบรรณข้อใดที่ตัวแทนประกันชีวิตควรปฏิบัติมากที่สุดในการขายประกันชีวิต
คำตอบ : ง. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันชีวิตทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันชีวิต
4.นาย ก. เป็นตัวแทนของบริษัทหนึ่งประกันชีวิต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีข่าวว่าฐานะทางการเงินไม่ค่อยดีเมื่อนาย ก. ไปเก็บเบี้ยประกันภัยผู้เอาประกันภัยได้สอบถามกับนาย ก. นาย ก. ควรจะตอบว่าอย่างไรจึงจะไม่ผิดจรรยาบรรณในข้อความลับอันมิควรเปิดเผยของบริษัทมาเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก
คำตอบ : ข. ตอบว่าเป็นเพียงข่าว เพราะมีหน่วยงานของรัฐควบคุมอยู่
5.นาย ก. ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง โดยได้แจ้งแก่ตัวแทนประกันชีวิตว่าตนเป็นโรคเบาหวาน ตัวแทนประกันชีวิตเกรงว่าถ้าแจ้งความจริงให้บริษัททราบแล้วจะทำให้การพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ ล่าช้า จึงไม่แจ้งแก่บริษัท ในกรณีนี้ตัวแทนประกันชีวิตทำถูกหรือไม่
คำตอบ : ค. ผิด เนื่องจากตัวแทนไม่เปิดเผยข้อความจริงของนาย ก. แก่บริษัทในส่วนที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันภัย
6.ข้อใดเป็นสิ่งที่ตัวแทนประกันชีวิตพึงปฏิบัติ
คำตอบ : ค. ไม่เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยนอกเหนือเงื่อนไขในกรมธรรม์
7.นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต เมื่อนาย ก. รับชำระเบี้ยประกันภัยจากนาย ข. ผู้เอาประกันภัย นาย ก. เห็นว่าการชำระเบี้ยประกันภัยมีระยะเวลาผ่อนผัน 30 วัน จึงนำเงินนั้นไปใช้ส่วนตัวก่อน และนำส่งให้บริษัทในภายหลัง โดยไม่เกินระยะผ่อนผัน ท่านคิดว่า การกระทำของนาย ก. ผิดหรือไม่ ?
คำตอบ : ง. ผิด เพราะไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้เอาประกันภัย และการไม่นำส่งเบี้ยประกันภัยให้บริษัทโดยทันที เป็นการไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อบริษัทฯ
8.นาย ก. และ นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความขัดแย้งกันในเรื่องตำแหน่งงาน ต่อมา นาย ก. ได้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับ นางสาว ค. และ นางสาว ค. ได้บอกว่าได้ซื้อกรมธรรม์ตามคำชักชวนของ นาย ข. แล้ว และทราบเรื่องความขัดแย้งกันจาก นาย ข. นาย ก. กลัว นางสาว ค. จะเข้าใจผิดฟังความข้างเดียว จึงได้เล่าเรื่องความขัดแย้งให้ทราบ จากการกระทำของ นาย ก. และ นาย ข. ท่านคิดว่าการกระทำของ นาย ก. และ นาย ข. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่
คำตอบ : ค. นาย ก. และ นาย ข. ไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะ เป็นการนำเรื่องส่วนตัวของตนเองมาเปิดเผยให้ นางสาว ค. ได้ทราบ
9.นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ขายกรมธรรม์ประกันภัยให้กับนาง ข. หลังจาก นาง ข. ทำประกันชีวิตได้ 3 ปี ก็ป่วยเป็นโรคร้ายแรง นางสาว ก. ได้จัดการเรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทให้นาง ข. จึงทราบเรื่องการป่วยของนาง ข และได้นำเรื่องดังกล่าวไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การกระทำของนางสาว ก. ผิดจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่
คำตอบ : ง. ผิด เพราะเปิดเผยความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันชีวิตต่อบุคคลภายนอก